วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญา



        บ้านบางน้อย เป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลท่าเม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีพื้นที่รอบหมู่บ้านอยู่ใกล้กับ ป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งมีกระจูดขึ้นตามธรรมชาติ ในบริเวณพื้นป่าพรุ กระจูดเป็นพันธุ์ไม้จำพวกกก ( sdege) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะลำต้นกลมสีเขียวอ่อน มีขนาดตั้งแต่เท่ากับหัวไม้ขีดไฟ จนกระทั่งเท่ากับแท่งดินสอนดำ สูงประมาณ 1 – 2 เมตร ออกดอกเป็นกระจุกแน่นคล้ายดอกกระเทียม ที่ข้างลำต้นใกล้กับยอดแต่มีช่อปลายลำต้นอีกช่อหนึ่ง ซึ่งมีใบด้วย กระจูดชอบขึ้นในพื้นที่มีน้ำขังซึ่งเรียกว่า ป่าพรุ
         ป่าพรุควนเคร็ง ของอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นป่าพรุขนาดใหญ่ ที่มีเนื้อที่นับแสนไร่ มีกระจูดขึ้นตามธรรมชาติอยู่บริเวณรอบ ๆ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบของหมู่บ้านทะเลน้อย ของจังหวัดพัทลุงด้วย ซึ่งอยู่ใกล้กัน ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ชาวบ้านบริเวณรอบป่าพรุ จึงนำกระจูดมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ในอดีตชาวบ้านได้นำลำต้นของกระจูดมาจักสานเป็นเครื่องปูลาด เรียกว่า สาด” (ภาษาถิ่นภาคใต้ ) หรือ เสื่อหรือบรรจุภัณฑ์ ที่เรียกว่า สอบหรือกระสอบ จากภูมิปัญญาดั้งเดิมมีการสานกระจูดเฉพาะ เสื่อ และกระสอบ เท่านั้นเพื่อใช้ในการ ปูนอน และตากข้าวเปลือก และใช้กระสอบสำหรับใส่ข้าวสาร หรือเกลือและของใช้อย่างอื่นภายในครัวเรือนและของใช้ในครัวเรือน
        จากคำบอกเล่าของนางหนูพิน อนุวัฒน์ อายุ 72 ปี อยู่บ้านเลขที่ 169 หมู่ที่ 1 บ้านควนป้อม ตำบลควนเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เล่าให้ฟังว่า การสานเสื่อกระจูดเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านในท้องถิ่นมาเป็นเวลา 3 ชั่วอายุคนแล้ว สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มต้นมีการสานเพื่อไว้ใช้ในครอบครัว ต่อมามีคนมารับไปขาย จึงทำให้มีรายได้หลังจากการทำนา ทำสวน ด้วยเหตุผลที่หมู่บ้านอยู่ใกล้กับป่าพรุควนเคร็ง ที่มีกระจูดขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ป่านับแสนไร่ ประกอบกับกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านบางน้อยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอชะอวด ได้จัดการฝึกอบรมให้ความรู้โดยการจัดตั้งกลุ่มสนใจฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ให้กับชาวบ้าน และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชะอวด และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอชะอวดได้มาให้ความรู้ ชาวบ้านจึงรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์จากกระจูด ขึ้น โดยมีนางพุม หนูรอดเป็นประธานกลุ่ม และได้รับการสนับสนุนตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

        การจักสานผลิตภัณฑ์จากกระจูด นับเป็นผลงานหัตถกรรมพื้นบ้านในท้องถิ่นของชาวบ้านบางน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีนางพุม หนูรอด เป็นผู้ที่เคยเห็นการจักสานกระจูด จากพ่อแม่ ประกอบกับได้รับการถ่ายทอดการจักสานกระจูดจากบรรพบุรุษ จึงมีความสนใจที่จะพัฒนาการจักสานกระจูด ให้มีรูปแบบที่ต่างจากการที่มีการจักสานเฉพาะ เสื่อ และกระสอบ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ที่ได้รับการถ่ายทอดมา จึงทำให้อยากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย เป็นที่ต้องการของตลาด ประกอบการการที่ได้รับความรู้ จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอชะอวด และพัฒนาชุมชนอำเภอชะอวด ที่ได้ฝึกอบรมให้ความรู้กับสมาชิกของกลุ่ม ตลอดจนการที่ได้จัดส่งตัวแทนของกลุ่มไปศึกษาดูงาน ที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงทำให้เกิดแนวคิดในการวางแผนและขั้นตอนในการทำผลิตภัณฑ์กระจูดให้เป็นชิ้นขนาดงานเล็ก หรือกระทั่งงานขนาดชิ้นใหญ่สุด เป็นที่ต้องการของลูกค้า
                                           ภูมิปัญญาสะท้อนวิถีชีวิตอย่างไร
  

        จากภูมิปัญญาท้องถิ่น จะสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านบางน้อง ซึ่งอยู่กับธรรมชาติป่าพรุควนเคร็ง มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ก็ยังมีกระจูดให้ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่เหมือนกับแหล่งอื่นที่กระจูดกำลังจะหมดไป แต่บ้านบางน้อย ยังเป็นแหล่งวัสดุดิบของผลิตภัณฑ์กระจูดที่ส่งตอกกระจูดไปขายให้กับชาวบ้านกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย เช่น หมู่บ้านทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จะสั่งตอกกระจูดจากบ้านบางน้อย ตำบลท่าเม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชไปใช้ในการจัดสานผลิตภัณฑ์ เนื่องจากแหล่งวัตถุดิบของหมู่บ้านทะเลน้อย ลดน้อยลง มีนกน้ำ ที่อาศัยอยู่ใกล้กับบริเวณป่าพรุลำปำ ของจังหวัดพัทลุง นกน้ำเหล่านี้จะมาจิกกินต้นอ่อน บริเวณกอ ปัจจุบันถึงแม้จะมีการปลูกทดแทนแต่ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการ
        ในด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ชาวบ้านบางน้อย จากเดิมที่ชาวบ้านในชุมชนนิยมสานเฉพาะ เสื่อ และกระสอบ และของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันได้รับการพัฒนารูปแบบ ของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย และมีลวดลายให้สวยงามมากขึ้น มีการย้อมสีตอกกระจูด ให้เป็นสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีม่วง สีน้ำเงิน เป็นต้น เพื่อเสริมแต่งลวดลายให้เด่นชัดและสวยงามขึ้น ตามรูปแบบของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด อาทิ กระเป๋า ชุดรองจาน ชุดปูโต๊ะอาหาร เครื่องใช้ตกแต่งบ้าน กระสอบทรงเหลี่ยม หรือของใช้ชิ้นเล็กอื่น ๆ
ลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จากกระจูด
        ผลิตภัณฑ์จากกระจูดเป็นวัสดุจากธรรมชาติ ที่มีความเหนียวและนุ่ม เมื่อนำมาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ จะช่วยในการระบายความร้อน ซึ่งคนในชุมชนสมัยก่อนได้นำกระจูดมาสานเป็นเสื่อสำหรับปูนอน แสดงถึงวิถีชีวิตท้องถิ่นอย่างหนึ่งของคนภาคใต้ ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านนิยมใช้ สื่อกระจูด ปูนอน เพราะลักษณะของภูมิอากาศของภาคใต้ร้อนชื้น คนในสมัยก่อนจึงได้นำเอากระจูดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ จากป่าพรุ มาปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ดังนั้นคนในชุมชนรอบ ป่าพรุควนเคร็ง โดยเฉพาะที่บางน้อย บ้านไร่เนิน ตำบลท่าเสม็ด บ้านควนป้อม ตำบลควนเคร็ง บ้านกุมแป ตำบลบ้านตูล และบ้านโคกทรางตำบลนางหลง ของอำเภอชะอวด จึงได้นำกระจูดมาจักสาน เป็น สื่อ สำหรับใช้ปูนอน ปูนั่ง หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น กระจูดจึงเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีชื่อเสียง และเรียกกันติดปากกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ว่า ถ้าจะซื้อเสื่อ หรือสาด ต้องซื้อ สาดชะอวดคือต้องเป็นเสื่อของอำเภอชะอวดเท่านั้น เป็นที่รู้จักของคนในท้องถิ่นและจังหวัด
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูและวิธีการสืบทอดภูมิปัญญา

        การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้องมีการอนุรักษ์ ตั้งแต่ต้นของกระจูดจนไปถึง ขั้นตอนการผลิต การจักสาน รูปแบบ ลาดลายดั้งเดิมของผลิตภัณฑ์มิให้สูญหายให้คงอยู่สืบทอดแก่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจากองค์กรภาครัฐ ในการจัดตั้งศูนย์ผลิตภัณฑ์จากกระจูด เพื่อสืบสานวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้คงอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยมีการสนับสนุนให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญา
ติดตามวิธีทำหรือตอนจบได้ที่ : http://krajoog2.blogspot.com/

5 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาอ่านง่าย อ่านแล้วเข้าใจดีค่ะ

    ตอบลบ
  2. เป็นเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายมากคับแล้วหน้าตาของเว็บสวยงามดีผมชอบการตกแต่งมากลเยคับ

    ตอบลบ
  3. มีประโยชน์มากเลยฮะ เดี๋ยวผมเอากระจูดมาทำเงบ้าง 555'

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่าย แล้วยังสวยอีกด้วย

    ตอบลบ
  5. เข้าใจง่ายดีครับ

    ตอบลบ